My Blog

Archive for พฤศจิกายน 2011

ปัญหาระบบการบริหารงานการคลังภาครัฐระบบอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา การเบิกจ่ายเงินมณฑลทหารบกที่ 31 จังหวัดนครสวรรค์

โดย วีรยุทธ ศรีจันทรา     สาขาวิชาการบัญชีบริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เป็นการศึกษาปัญหาระบบการบริหารงานการคลังภาครัฐระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนาเสนอแนวทางในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมให้กับหน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานกรณีศึกษา โดยศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงาน ด้านการควบคุมการเบิกจ่ายเงิน ด้านบัญชี และด้านรับ-จ่ายเงิน ในพื้นที่มณฑลทหารบกที่ 31 จังหวัดนครสวรรค์

 

จากการศึกษา พบว่า การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานกรณีศึกษานั้น ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่ขาดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในการทาไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ทาให้งานไม่เป็นไปบรรลุผลไว้ งานที่ปฏิบัติการล้าช้าไม่ทันต่อสถานการณ์ โดยภาพรวมแล้วปัญหาการบริหารงานการคลังภาครัฐระบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งหน่วยงานได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลได้ตั้งไว้

 

เขียนดีอย่าลืม download เด้อ  ตรงหมายเลขนี้เลย    promblem

 

 

 

http://www.ex-mba.buu.ac.th/Research/Bkk/Acc11/51722017/03_abs.pdf

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

klang.cgd.go.th/srn/klang/…/GFMIS/Problem2GfmisHelpdeskForm.p

 

 

การประเมินผลระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) จังหวัดนนทบุรี

โดย ชมภูนุช หุ่นนาค นักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เป็นการประเมินระบบ GFMIS  โดยเจาะจงจังหวัดนนทบุรีเป็นพื้ที่สำรวจทำให้เข้าใจถึงปัจจัยพื้นฐานในด้านต่างๆ ปัญหาและอุปสรรคของ GFMIS เวลาที่ใช้งานจริง

เขียนดีอย่าลืม download เด้อ  ตรงหมายเลขนี้เลย ASJ-2010-399

 

 

kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/oasej/include/getdoc.php?id=1067

ประเมินผลการนำระบบ GFMIS มาใช้ในการบริหารการเงินการคลังภาครัฐของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

The Assessment of using GFMIS in Bureaucratic Financial Management in Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย กัณทิมา จองสุข

ปี     2551

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยเรื่อง “ประเมินผลการนำระบบ GFMIS มาใช้ในการบริหารการเงินการคลังภาครัฐของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการนำระบบ GFMIS มาใช้ในการบริหารการเงินการคลังภาครัฐของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และนำผลที่ได้จากการประเมิน มาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริหารการเงินการคลังภาครัฐของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ GFMIS ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 67 คน โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่ง ลักษณะสายงานที่ปฏิบัติ ระบบงานที่เกี่ยวข้อง และการอบรมที่เกี่ยวข้องกับ GFMIS เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติโดยคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test แล้วทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe′) ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม ผู้ปฏิบัติงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำระบบ GFMIS มาใช้ในการบริหารการเงินการคลังภาครัฐของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทำให้การบริหารการเงินการคลังมีประสิทธิภาพ 4 ด้าน คือ ด้านความถูกต้องแม่นยำ ด้านความโปร่งใส ด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายและด้านความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ส่วนด้านบุคลากร อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 4 ข้อ คือ มีความเข้าใจระบบงานและวิธีปฏิบัติงาน จำนวนบุคลากรมีเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงาน มีการพัฒนาศักยภาพอย่างสม่ำเสมอ เช่น การฝึกอบรม ขวัญและกำลังใจในการทำงานผู้ปฏิบัติงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง ลักษณะสายงานที่ปฏิบัติ ระบบงานที่เกี่ยวข้อง และการเข้ารับการอบรมต่างกัน หมายความถึงว่า ผู้ปฏิบัติงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำระบบ GFMIS มาใช้ในการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แตกต่างกัน เนื่องจาก ประสบการณ์ในการทำงาน ลักษณะงานที่ต่างกัน ความรู้และความเข้าใจระบบงาน ส่วนผู้ปฏิบัติงานที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกัน คือ ผู้ปฏิบัติงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำระบบ GFMIS มาใช้ในการบริหารการเงินการคลังภาครัฐได้ เนื่องจากระบบ GFMIS เป็นการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป การใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ผู้ปฏิบัติงานสามารถศึกษาหรือเรียนรู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานจากเพื่อนร่วมงานหรือคู่มือปฏิบัติงาน ทำให้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกันจึงไม่มีผลต่อการปฏิบัติงาน จากผลการศึกษาข้างต้น สรุปได้ว่า ระบบ GFMIS เป็นระบบที่ทำให้การบริหารการเงินการคลังภาครัฐของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีประสิทธิภาพ และผลการศึกษาครั้งนี้ยังใช้เป็นแนวทางในการปรับนโยบายขององค์กร และจัดสรรงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรโดยมหาวิทยาลัยฯ ควรส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีการพัฒนาศักยภาพอย่างสม่ำเสมอ เช่น การฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในระบบงานและวิธีปฏิบัติงาน สามารถปรับปรุงแก้ไขและใช้ระบบงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความคล่องตัว ใช้งานจากระบบได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น ส่งผลให้การปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

เขียนดีอย่าลืม download เด้อ  ตรงหมายเลขนี้เลย 115070504023-8[1]

 

http://www.research.rmutt.ac.th/archives/3167

 

การศึกษาระบบ GFMIS กับการวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจ

โดย นางสาวกณิกนันต์ ณ สุวรรณ

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทำให้เห็น GFMIS ในภาพรวมและความสัมพันธ์ในทางด้านเศรฐษฐกิจ ดังนี้

1. เพื่อศึกษาระบบ GFMIS ซึ่งเป็นระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐระบบใหม่

2. เป็นการนำข้อมูลการคลัง มาใช้วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ

3. เป็นระบบงานที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์เศรษฐกิจภาคการคลังที่สำคัญและประโยชน์ที่แต่ละระบบงานจะได้รับ

เขียนดีอย่าลืม download เด้อ  ตรงหมายเลขนี้เลย  28-kanik[1]

 

library.cmu.ac.th/faculty/econ/751409/2548/28-kanik.pdf

ขีดความสามารถในการให้บริการในระบบ GFMIS ของข้าราชการกรมบัญชีกลาง

โดย ทิพวรรณ พูลเกษม  หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารงานทั่วไป

วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

ทำให้ทราบขีดความสามารถในการให้บริการในระบบ GFMIS ของกรมบัญชีกลาง เพื่อเปรียบเทียบขีดความสามารถในการให้บริการในระบบ GFMIS ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง จำแนกตามตัวแปรอายุ เพศ วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง ระยะเวลาในการทำงานและความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาเสริมสร้างขีดความสามารถในการให้บริการในระบบ GFMIS โดยได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างของข้าราชการกรมบัญชีกลางที่มีหน้าที่ให้บริการในระบบ GFMIS แก่ส่วนราชการต่าง ๆ จำนวน 150 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA

เขียนดีอย่าลืม download เด้อ  ตรงหมายเลขนี้เลย  47934988

tea.gspa-buu.net/library/is/mpa47/47934988.pdf

พูดถึง GFMIS Token Key  ได้ดีมากๆ อย่าลืมเข้ามาdownload กันนะ

GFMIS Internet Token Key

http://www.gfmis.go.th/contact.html

ระบบ GFMIS กับการพัสดุ

 โดย  นางสาวนาตอนงค์  จันทร์แจ่มแจ้ง

ระบบ GFMIS คืออะไร

GFMIS คือ โครงการเปลี่ยนแปลงการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งย่อมาจาก  Government Fiscal Management Information System ซึ่งโครงการนี้เริ่มมาจากการที่รัฐบาลมีนโยบายดำเนินการโครงการปรับปรุงการบริหารงานการคลังภาครัฐโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการทำงาน ด้านการบริหารงานการคลังของภาครัฐ..ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารงานไปเป็น การเน้น ผลผลิต ผลลัพธ์ และเป้าหมายของการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแปลงนโยบาย และวิสัยทัศน์ของรัฐ สู่การปฏิบัติได้จริง และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล..สามารถตอบสนองต่อการบริหารประเทศที่ยึดประชาชน เป็นศูนย์กลาง. . พร้อมกับเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ เพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงาน

“ สร้างและดำเนินการจัดทำ ระบบหลัก ด้านการเงินการคลังภาครัฐ (Core Function) ที่รองรับการบริหารงบประมาณ การบริหารการคลัง และบัญชีหลัก ที่ครอบคลุม การเงินการคลังเป็นระบบเดียว เชื่อมโยงอย่างบูรณาการ  ครบวงจร สามารถรวบรวมข้อมูลด้านการเงินการคลังพันธกิจ และการบริหารงบประมาณ รายรับรายจ่าย เงินนอกงบประมาณ การกู้ยืมและการบริหาร ฐานะเงินคงคลังที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา (Online Real-time)  ระบบนี้เป็นการปฏิรูปการบริหารงานในแนวทาง …รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ …e-Government      ในส่วนของ e -Fiscal & Finance)”

ระบบ GFMIS นี้ บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1  ตุลาคม 2547 โดยให้ส่วนราชการส่งข้าราชการเข้ารับการอบรมกับโครงการ และนำมาปฏิบัติงาน โดยเริ่มแรกให้ทำลักษณะคู่ขนาน คือทำตามระบบเดิม และระบบ GFMIS ควบคู่กันไป และได้ยกเลิกระบบคู่ขนาน วันที่  28  กุมภาพันธ์  2548 และใช้ระบบนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ระบบ GFMIS ที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุ

ระบบจัดซื้อจัดจ้างเป็นส่วนหนึ่งของระบบ GFMIS โดยเน้นไปที่การบันทึกรายการเพื่อสร้างใบสั่งซื้อ ซึ่งในระบบเรียกว่า ใบสั่งซื้อ/จ้าง/เช่า (Purchasing Order หรือ PO) และการแก้ไข หรือยกเลิกใบสั่งซื้อ/จ้าง/เช่า กรณีที่พบว่าใบสั่งซื้อมีข้อผิดพลาด โดยไม่รวมถึงการสร้างข้อมูลหลักผู้ขาย หากคนที่ได้รับการอบรมจากโครงการมา จะทราบได้ทันทีว่า ทางโครงการเน้นย้ำว่า การสร้างข้อมูลหลักผู้ขาย ให้สร้างโดยเจ้าหน้าที่การเงิน แต่ถ้าหากพิจารณาแล้ว การสร้างผู้ขาย ควรเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุเพราะก่อนที่จะทำการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ ะต้องมีผู้ขายอยู่ในระบบก่อน ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่า ระบบ GFMIS ที่เกี่ยวข้องกับพวกเราชาวพัสดุก็คือการบันทึก หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง และการสร้างข้อมูลหลักผู้ขาย

ทำไมต้องสร้างข้อมูลหลักผู้ขายและใบสั่งซื้อ

การสร้างข้อมูลหลักผู้ขาย

ในระบบ  GFMIS  หากจะทำใบสั่งซื้อได้ ผู้ขายที่เป็นคู่สัญญาของส่วนราชการ จะต้องเป็นผู้ขายที่มีอยู่ในระบบ GFMIS แล้วเท่านั้น เพราะถ้าหากว่า ยังไม่มีข้อมูลอยู่ในระบบก็จะไม่สามารถจะสร้างใบสั่งซื้อเข้าไปในระบบได้

การสร้างใบสั่งซื้อ

ระบบ GFMIS  จะเบิกจ่ายเงินให้กับผู้ขาย โดยการโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารโดยตรง ใบสั่งซื้อจะเป็นตัวกำหนดว่าจะโอนให้กับผู้ขายรายใด จำนวนเงินเท่าไร ดังนั้น หากไม่มีการสร้างใบสั่งซื้อเข้าไปในระบบแล้ว ระบบก็จะไม่สามารถโอนเงินให้กับผู้ขายของส่วนราชการได้ ทั้งนี้ วงเงินขั้นต่ำที่กำหนดว่าจะต้องสร้างใบสั่งซื้อ/จ้าง/เช่า ลงในระบบจะต้องมีวงเงินตั้งแต่ 5,000.- บาท ขึ้นไป และจะต้องไม่ใช่การสั่งซื้อสั่งจ้างที่ได้มีการจ่ายเงินสด หรือจ่ายเงินล่วงหน้าไปแล้ว

รูปแบบของการสร้างใบสั่งซื้อ และการสร้างข้อมูลหลักผู้ขาย

ไม่ว่าจะเป็นการสร้างใบสั่งซื้อ หรือการสร้างข้อมูลหลักผู้ขาย เราสามารถทำได้ 3 วิธี คือ ผ่าน Excel Loader,  สร้างจากเครื่อง Terminal และการ Interface ข้อมูล ในส่วนของมหาวิทยาลัยนเรศวร จะใช้อยู่ 2 วิธี คือ

  1. สร้างผ่าน Excel Loader  คือการนำข้อมูลที่เป็น Excel  นำส่งที่เครื่อง Terminal แล้วระบบก็จะให้หมายเลขรหัสมาใช้ในการดำเนินงานขั้นต่อไป
  2. สร้างโดยตรงกับเครื่อง Terminal เป็นการสร้างโดยต้องอาศัยบัตร smart card จึงจะสามารถเข้าไปสร้างข้อมูลได้

การ Interface หมายถึงการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบอื่น บันทึกเข้าไปยังเครื่อง Terminal และเหตุที่ไม่ได้ใช้วิธีการ Interface นี้ข้อมูลก็เนื่องจาก มหาวิทยาลัยยังไม่มีการบันทึกรายการซื้อจ้างด้วยระบบอื่น

เครื่อง Terminal คืออะไร

เครื่อง Terminal คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่รัฐบาลจัดสรรให้เพื่อไว้ใช้ในการบันทึกรายการ ติดตั้งให้เฉพาะหน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานและหนึ่งเครื่อง โดยระบบจะติดต่อกับฐานข้อมูลของกรมบัญชีกลางโดยตรง เมื่อบันทึกรายการลงไป ระบบก็จะให้หมายเลขเพื่อใช้ในการอ้างอิง และนอกจากมีไว้เพื่อบันทึกรายการแล้ว ยังมีไว้เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร หรือปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงานอีกด้วย

สรุป

กล่าวโดยสรุปคือ พวกเราเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อจัดจ้างในระบบเอกสารปกติ ด้วยวิธีการปกติ ไม่ว่าจะด้วยวิธีตกลงราคา สอบราคา ประกวดราคา หรือวิธีใด ๆ ก็ตาม เมื่อจัดซื้อจัดจ้างเรียบร้อยแล้ว ทำใบสั่งซื้อ ข้อตกลง หรือสัญญาเรียบร้อย จึงเข้ามาสู่ระบบ GFMIS โดยการตรวจสอบข้อมูลของผู้ขายก่อนว่า ผู้ขายรายที่เราซื้อจ้างนั้น เป็นผู้ขายที่อยู่ในระบบแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่มี ก็ให้ดำเนินการสร้างผู้ขายนั้นก่อน แล้วจึงทำใบสั่งซื้อ/จ้าง/เช่า ลงในระบบ GFMIS ต่อไป  ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดซื้อด้วยเงินงบประมาณแผ่นดิน เงินอุดหนุน หรือเงินจากแหล่งอื่นที่ทางโครงการกำหนดว่าต้องดำเนินการในระบบ GFMIS เท่านั้น

http://office.nu.ac.th/psd/natarnongj/%C3%D0%BA%BA%20GFMIS%20%A1%D1%BA%A1%D2%C3%BE%D1%CA%B4%D81.htm

vdo gfmis

 

vdo ยาว 8.48 นาที เข้ามาดูกันให้ได้นะ

 

http://www.gfmis.go.th/download/present/presentation_gfmis.html

ติดต่อหน่วยงานระบบ GFMIS กระทรวงการคลัง:

ที่อยู่: หน่วยงานระบบ GFMIS กระทรวงการคลัง   อาคารศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลัง ชั้น 1 ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

หมายเลขโทรศัพท์: 0 2298 6341-3 หมายเลขโทรสาร: 0 2298 6344

ติดต่อสำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลาง:

ที่อยู่: สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์  กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง  ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

หมายเลขโทรศัพท์: 0 2298 6660, 0 2127 7000

ทั้งนี้ หากส่วนราชการมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานระบบ GFMIS ส่วนราชการสามารถสอบถามหรือแจ้งปัญหาไปยัง GFMIS Helpdesk ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2684 4444 หรือหมายเลขโทรสาร 0 2684 4445 ได้ตามเดิม

http://www.gfmis.go.th/contact.html